ป้ายกำกับ

วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

คิดถึงบ้านเรา

บ้านเรา แสนสุขใจ อยู่ที่ไหน ไม่สุขใจเท่าบ้านเราๆๆๆๆๆๆๆ

วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

มารยาทแบบสากลทางกาย

สวัสดีครับกระผม ณุบางนา ต้องขอโทษเพื่อนสมาชิกด้วยครับที่หายไปนานหน่อยเพราะมัวแต่นอนดึก (ดูบอลโลกนะ) ตอนนี้บอลโลกจบแล้วก็เข้ามาทักทายกันนะครับ
เมื่อสัปดาห์ก่อนนั้น ผมค่อนข้างโชคดีเพราะผมสามารถสอบเลื่อนฐานะได้แล้ว(เย้) ก็ทำให้ผมสงสัยอยู่ว่าทำไมการแสดงความดีใจต้องแสดงด้วยการจับมือ...สงสัยใช่ไหมล่ะ ผมก็เลยลองเข้าไปดูประเพณีไทย.com มาก็ได้ความคิดเห็นมาว่าเป็นมารยาทแบบสากลทางกาย ซึ่ง มารยาทแบบสากลทางกายด้วยการการจับมือแบบฝรั่งเป็นเครื่องหมายแสดงความยินดีในการต้อนรับแสดงความเคารพเป็นมิตรไมตรีไว้เนื้อเชื่อใจกัน อาการกิริยาที่ใช้แสดงการยื่นมือขวาเปล่า ๆ ออกมา ย่อมแสดงให้ทั้งสองฝ่ายเห็นความบริสุทธิ์ซึ่งกันและกัน เปิดเผยซึ่งกันและกันว่าไม่มีอะไรซุกซ่อนในมือก่อนที่จะจับมือกัน เช่นเดียวกับการแสดงความเคารพของประเพณีไทย ด้วยการยกมือทั้งสองข้างมาพนมแล้วก้มศรีษะลงแสดงความเคารพ ผมก็ต้องขอขอบคุณทุกท่านที่ได้แสดงความยินดีกับกระผม ผมจะรักษาความดีไว้ตราบนานเท่านานครับขอบคุณครับ (ณุบางนา)

วันจันทร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2553

สิ่งที่ผมแอบยิ้มในใจ

เรื่องพันจ่าทำการภาค 2 ขอระงับไว้ก่อน ครับวันนี้มีเรื่องอื่นมาเล่าให้ฟังก่อนครับเมื่อวานนี้ 10 เม.ย.53 (วันเดียวกับการสลายการชุมนุม) ผมได้พูดคุยกับข้าราชการพลเรือนชั้นผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง ซึ่งผมรู้จักเพราะว่าผมอาจเคยทำบุญร่วมกับท่านมาแต่ชาติปางก่อน ท่านได้เล่าให้ฟังว่า ขณะที่ท่านดำรงตำแหน่งเป็นปลัดอำเภอที่จ.ชุมพร เมื่อปี 2540 เกิดภัยพิบัติพายุซีต้าถล่มเมืองชุมพร เกิดน้ำท่วมใหญ่มากทั่วทุกอำเภอ โดยเฉพาะในตลาดเมืองชุมพร ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดความสูญเสียใหญ่หลวงมากทำให้คนในจังหวัดเกิดความลำบากทุกประการ และทางราชการได้ส่งสิ่งของมาช่วยเหลือจากทั่วทุกประเทศ ซึ่งหนึ่งในความช่วยเหลือนั้นก็คือ ทหารเรือ ท่านประทับใจทหารเรือมาก ถึงกับยกให้ "ทร. 5 ดาว ทบ. 4 ดาว ตร.แค่ 1 ดาวก็พอ" ทหารเรือได้ช่วยเหลือด้านอาหาร และยารักษาโรค โดยนำเรือพระเอกของเราคือ เรือจักรีเป็นฐานบัญชาการ ที่กลางทะเล ช่วยเหลือผู้สูญหายทางทะเล และสิ่งที่ท่านประทับใจมากก็คือ หลังจากน้ำลดลงแล้ว ในตลาดชุมพร เต็มไปด้วยโคลน เศษขยะปฏิกูลทั้งหลาย มากมาย จนชาวบ้านพูดกับว่าถ้าเราล้างเมือง 2-3 เดือนก็ไม่เสร็จ แต่คราวนั้น กองทัพเรือได้ส่งกำลังไปช่วยชาวบ้านทำความสะอาดตลาด ประมาณ 500 นาย ใช้เวลาเพียง 3 วันเท่านั้น ก็สามารถทำให้เมืองชุมพรเป็นปกติ สิ่งนี้ท่านได้เห็นความแข็งแรง ขยัน อดทน และความเป็นระเบียบ ของทหารเรือ "ผมเนี้ยแทบลอยเลย" แล้วหลังจากนั้นทางจังหวัดชุมพร ได้เห็นความดีที่จะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกันของทหารเรือ จึงมีการเลี้ยงตอบแทนให้ กับทหารเรือ ท่านได้เจรจากับ ผบ.เรือ(ท่านจำไม่ได้ว่าเรืออะไร ผบ.เรือ บอกว่าถ้าทางจังหวัดจะเลี้ยงตอบแทน ก็ขอให้เปลี่ยนบรรยากาศไปเลี้ยงกันที่เรือดีกว่า เพียงแต่ค่าใช้จ่ายทางจังหวัดเป็นผู้จ่ายเท่านั้น จะเป็นประโยชน์กับทางเรือของเรามากกว่า ผบ.เรือกล่าว "ก็โอเค" เป็นครั้งแรกที่ท่านได้ขึ้นเรือรบ ท่านบอกว่ามีเรือ 2 ลำ จอดอยู่หน้าหาดทรายรี โดยเทียบเรือติดกัน (จำไม่ได้อีกว่าเรืออะไร) การจัดเลี้ยงที่เรือรบนั้นประทับใจท่านมาก สิ่งที่ท่านประทับใจมากที่สุดคือ เวลาท่านนั่งรับประทานอาหารอยู่ที่โต๊ะ จะมีพลทหารคอยเสิร์ฟน้ำให้ตลอดเวลา "หมดครึ่งแก้วเติม" "หมดครึ่งแก้วเติม" โดยไม่มีการตกหล่นบกพร่องเลย อาหารก็อร่อย บรรยากาศก็ดีมาก และความสุภาพในการบริการของทหารเรือทำให้ท่านชื่นชอบทหารเรือมาก "สิ่งที่ท่านพูดมาทั้งหมดนี้ ผมแอบยิ้มในใจ เพราะว่า ที่คอยเสริ์ฟน้ำ ทำอาหารเลี้ยง และความสุภาพเรียบร้อยในการบริการนั้น ผมคิดว่าไม่มีที่ใดสอนเขา นอกเสียจาก โรงเรียนพลาธิการ ของเรานี่เอง ครู อาจารย์ทั้งหลายที่ท่านได้อบรมสั่งสอนมา แล้วนำไปใช้ให้เกิดกับทางราชการ ก็เป็นสิ่งที่ดีมากและเกิดความประทับใจกับบุคคลภายนอกแถมได้รับความชื่นชมมาอีก และนี่เป็นสิ่งที่ผมแอบยิ้มอยู่ในใจ แล้ววันหลังจะมาเล่าบทความที่ท่านประสบกับพายุเกย์ให้ทราบต่อไปครับ

วันพุธที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2553

เมื่อนายทหารประทวนทำหน้าที่นายทหารสัญญาบัตร (ตอนที่ 1)

สิ่งหนึ่งที่นายทหารประทวน...(ผู้ที่เคยใส่เสื้อน๊อต ชุดกลาสีมาก่อน หรือมีบั้งข้างแขน) ไฝ่ฝันในตำแหน่งนี้ส่วนมากยังไม่ทราบว่ามีอำนาจหน้าที่เพียงใด กระผมจึงขอเขียนบทความโดยนำความของ น.อ.วุฒิ มีช่วย ซึ่งเขียนไว้ใน หนังสือนาวิกศาสตร์ตั้งนานแล้วยังพออ่านเจออยู่ เรื่องมีอยู่ว่า... โดยทั่วไปแล้วนายทหารสัญญาบัตรย่อมมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบมากกว่านายทหารประทวน ทั้งนี้ เป็นไปตามกฏหมาย กฏ ระเบียบข้อบังคับ ตลอดจนคำสั่งที่เกี่ยวข้อง สำหรับนายทหารสัญญาบัตรที่เลื่อนฐานะมาจากนายทหารประทวนจะต้องผ่านขั้นตอนการสอบ การศึกษา อบรม และทดสอบความรู้ ความสามารถตามหลักเกณฑ์ที่ทางราชการกำหนด แต่ในขั้นตอนของการทดสอบความรู้ความสามารถในการทำงานเป็นเวลา 6 เดือน หรือ 1 ปี ก่อนได้รับแต่งตั้งยศนั้น มักมีผู้สงสัยว่าอำนาจหน้าที่ของนายทหารประทวนที่ทำหน้าที่นายทหารสัญญาบัตรในระหว่างเวลานั้นมีมากน้อยเพียงใด โดยมีประเด็นปัญหาหลักที่ถกเถียงกันในการแสดงความคิดเห็นเรื่องอำนาจหน้าที่ของนายทหารประทวนที่มักเรียกในหมู่ทหารเรือว่า "พันจ่าทำการ" แบ่งความเห็นออกเป็น 2 ฝ่าย คือ
ฝ่ายแรก เห็นว่า "พันจ่าทำการ" มีอำนาจหน้าที่เท่าเทียมกับนายทหารสัญญาบัตรที่ระบุไว้ในตำแหน่งนั้นทุกประการซึ่งฝ่ายนี้ได้อ้างข้อบังคับ กห. ว่าด้วยการสั่งการและประชาสัมพันธ์ พ.ศ.2527 ข้อ 19 ที่กำหนดว่า"นายทหารประทวนที่ได้รับคำสั่งให้ทำหน้าที่ในตำแหน่งนายทหารสัญญาบัตรเพื่อทดสอบความรู้ความสามารถในการที่จะเลื่อนฐานะเป็นนายทหารสัญญาบัตร ตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการแต่งตั้งยศทหาร ให้มีอำนาจหน้าที่ตามตำแหน่งที่ทำหน้าที่นั้น" ดังนั้นฝ่ายนี้จึงเห็นว่าอำนาจหน้าที่ต่าง ๆ ของนายทหารสัญญาบัตรในตำแหน่งนั้นมีอยู่อย่างใร "พันจ่าทำการ" ที่เข้าไปทำหน้าที่ย่อมรับมาทั้งอำนาจและหน้าที่ทุกประการ เช่นการสั่งลงทัณฑ์ การอนุญาตให้ลา การสอบสวน เป็นต้น เอาเป็นว่าวันนี้เขียนถึงฝ่ายแรกก่อนนะครับเอาไว้วันหลังจะเขียนในฝ่ายหลังต่อไปนะครับ

วันจันทร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2553

วันอังคารที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2553

อาร์เซนอล5 ลิเวอร์พูล0 ฮ่าๆๆๆๆ